โลกทัศน์และมุมมองที่เปิดกว้าง…..
ถ้าเราเชื่อเรื่องโชคชะตาและเรื่องของพรหมลิขิต (ไม่ใช่เรื่องเนื้อคู่อย่างเดียวนะครับ) โลกทัศน์ของเราก็จะเปิดกว้างไปอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งมันน่าทึ่งทีเดียว เพราะสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็น จะช่วยให้เราเชื่อโชคชะตาอย่างเหนียวแน่นและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่าคนเราได้รู้จักกัน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเสียทั้งหมด เพราะเราก็จะเจอใครต่อใครทุกๆ วัน แต่การได้พบกันและได้ทำอะไรดีๆ เพื่อตัวเราเองและร่วมกันทำความดีเพื่อผู้อื่น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต นี่คือสิ่งที่ผมบอกว่า..มันน่าทึ่ง 😀
ผมรู้จักต้า วศินและครูหญิง ดีไซเนอร์คนเก่ง นางแบบในภาพ 😀 https://www.facebook.com/vasin.chockchanachaisakul?fref=ts ผ่านคุณหมู วัชรวิชญ์ https://www.facebook.com/wachararwish
เพราะหลงไหล Hasselblad ด้วยกัน แวะเวียนมาพบเจอะเจอกันก็หลายหน มีเรื่องดีๆ ให้ทำร่วมกันก็หลายครั้ง และคงจะมีในครั้งต่อๆ ไปอีก ในการทำประโยชน์เพื่อสังคมในกิจกรรมที่จะมีขึ้น
มุมมองที่มองผ่านเลนส์มุมกว้าง เป็นมุมมองที่สนุกในความคิดของผมนะครับ มันกว้างมาก มันเห็นอะไรได้มากมายเต็มไปหมดในภาพกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้น แต่มันก็มีข้อเสียนะครับ..อะไรๆ ที่เราไม่อยากให้มันเข้ามามันก็เข้ามาหมดเช่นกัน ฉะนั้น เราต้องพิถีพิถันพอสมควร การใช่เลนส์มุมกว้างถ่ายคนก็เป็นอีกเรื่องที่น่าตื่นเต้น เพราะนอกจากจะทำให้แบบดูตัวใหญ่ผิดปกติ (สาวๆ คงปวดร้าวไปทั้งกายทั้งทรวงเมื่อเห็นภาพที่ล้างอัดเสร็จ :D) ยังจัด composition ยากขึ้นไปด้วย แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่ข้อจำกัดของต้า วศิน
นักถ่ายภาพส่วนใหญ่ถ่ายภาพตามทฤษฎี ซึ่งถูกต้อง แต่เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในความคิดเห็นของผม เพราะความจริงทฤษฎีมีเอาไว้เพื่ออธิบายภาพถ่าย ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ทำตามทั้งหมด ผลของภาพที่ได้จึงแตกต่างกัน ภาพที่ตรงตามทฤษฎีเป็นภาพที่สวยงาม แต่ปราศจากชีวิตชีวา เพราะเราอาจจะมัวไปสนใจแต่การจัดองค์ประกอบ แต่ลืมไปว่า เราต้องการบันทึกอะไร? บันทึกภาพที่มีทฤษฎีถูกต้อง? หรือบันทึกภาพที่มีชีวิตและมีทฤษฎีทางการถ่ายภาพรองรับว่าสวยงาม?…มันน่าคิดนะครับ.. 😀
หลายๆ คนชอบถ่ายภาพด้วยเลนส์ Portrait หรือ Telephoto lens ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่ได้ผิดกฏเกณฑ์อะไร เพราะ lens มีเอาไว้ถ่ายภาพ เมื่อก่อนเราไม่รู้ว่าจะใช้เลนส์อะไรถ่ายภาพแนวไหน การกำหนดว่า เลนส์มุมกว้างเอาไว้ถ่ายวิว ถ่ายสถาปัตยกรรม เลนส์มาโครเอาไว้ถ่ายอะไรเล็กๆ ให้ดูมีขนาดใหญ่ เลนส์ ถ่ายไกล telephoto เอาไว้ถ่ายคน lens super telephoto เอาไว้ถ่ายนก ถ่ายกีฬา หรือถ่ายสัตว์ป่า เหล่านี้เป็นทฤษฎีง่ายๆ ในเรื่องของเลนส์ให้เราเลือกใช้ ถ้าหากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอะไรก่อน… ผมเองยังติดกับหลักการง่ายๆ นี้อยู่หลายปีเลย 😀
เรื่องง่ายๆ ในการที่จะแหวกกฏเกณฑ์นี้ออกไปคือ..ถ่ายเถอะครับ..ถ้าเห็นว่ามันสวยและดูดีในสายตาเรา คนอาจจะวิจารณ์ภาพเราตามภูมิหลังของเขา ตามประสบการณ์ของเขา ตามความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพของเขา หรืออื่นๆ ที่อาจทำให้เรายิ้มย่องหรือห่อเหี่ยวได้ทันทีหลังคำวิจารณ์จบ 😀 ก็อย่าไปคิดมากครับ.. เรามีความสุขตั้งแต่เราถ่ายแล้ว แค่นั้นก็คงพอแล้วละครับ..เราจะเป็นเทพหรือมารในสายตาใครๆ ก็คงไม่อาจห้ามให้ใครไปคิดแบบนั้นได้
ภาพตามมุมมองของประธานรุ่นคณะเศรษฐศาสตร์ จากรั้วจามจุรี ผมคิดว่าสวยดีครับ..ภาพแรกเป็นแบบ Candid ที่สนับสนุนด้วยกฏ Rule of Thirds โดยวางตำแหน่งจุดสนใจของภาพทางด้านขวามือ และมีถนนทางเดินเป็นเส้นนำสายตา มีกฏ อย่างน้อยๆ 3 ข้อ ที่ทำให้ภาพนี้มีเสน่ห์ ถ้าใครมัวแต่มานั่งคิดถึงกฏในการถ่ายภาพ ผมว่าต้าก็คงไม่ได้คิดเรื่องนี้หรอก เห็นว่าสวยเป็นพอ 😀 ส่วนภาพที่ 2 ถ่ายด้วยกฏ 3 ส่วน ภาพที่ 3 ถ่ายด้วยกฏ Symmetry ภาพที่ 4 ถ่ายด้วยกฏ Foreground Images ผมรู้ว่าน้องต้าถ่ายภาพไม่มีกฏเกณฑ์อะไรมากมายขนาดนี้ตอนที่บันทึกภาพ แต่อย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้นว่า ทฤษฏีการถ่ายภาพเอาไว้อธิบายภาพถ่ายว่าสวยอย่างไร? ไม่ใช่เที่ยวถ่ายภาพให้ได้ตามกฏนั้นๆ เพื่อให้ได้ภาพที่สวย… ลองคิดมองย้อนดูนะครับ…ศิลปะที่เกิดจากภาพที่เราถ่ายจึงจะมีชีวิต 😀
ภาพของต้า วศิน ยังมีภาค 2 และภาคต่อๆ นะครับ อย่าลืมติดตามกันได้ ข้อมูลภาพ ข้อมูลฟิล์ม ฯลฯ อยู่ในภาพถ่ายนะครับ เผื่อท่านใดอยากทราบ Lens or films charactor จะได้มีไว้เป็นข้อมูล
มีนักถ่ายภาพสมัครเล่นอีกหลายท่านที่เป็นเพื่อนผมและถ่ายภาพได้ดีมากๆ รวมทั้งคุณหมอ https://www.facebook.com/chompol.musigavong ที่ยังค้างการบ้านผม 😀 แต่ผมก็เข้าใจคุณหมอดี เพราะคนไข้สำคัญกว่าเสมอ
รวมทั้งเพื่อนๆ คนอื่นๆ ด้วยนะครับ ไม่ได้ทวงเลย แค่บอกให้ทราบว่ารออยู่ 😀
ขอให้มีความสุขกับการถ่ายครับ แล้วเราจะนำมาแบ่งปันในบ้าน Square Format หลังนี้ของพวกเรา
Yut Hasselblad