ผมคิดว่าภาพคนถ่ายยากนะครับ หมายถึงถ่ายให้สวยๆ ได้ยาก (ภาพสวยตามความคิดของผมคือภาพที่เจ้าของภาพดูเป็นธรรมชาติ ไม่ได้เสแสร้ง ไม่ได้เป็นแบบมือาชีพ ไม่ได้เป็นบุคลสำคัญๆ เสมอไป เป็นสามัญชนคนธรรมดาเหมือนเราๆ ท่านๆ นี่เอง) ภาพเหล่านั้นบอกเล่าเรื่องราวได้ดีตามวิธีของมันคือ ใคร ทำอะไร ทำไมถึงทำสิ่งนั้น ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ และทำอย่างไร [Who What Why Where When How] ตามหลักทฏษฎีการถ่ายภาพเพื่องานงานประชาสัมพันธ์เป๊ะๆ แล้วถามว่า ถ้าภาพที่เราถ่ายไม่ตรงตามหลักการเหล่านี้ เป็นภาพที่สวยงามหรือไม่..คำตอบคงแบ่งเป็นสองคำตอบ ไม่ว่าจะตอบอย่างไร ตอบไม่ตรงกัน แต่เราก็เป็นเพื่อนกันอยู่นะครับ 😀 เพราะศิลปะไม่มีคำว่าถูกหรือผิดสำหรับความคิดผม

หลังจากที่ติดกับดักแห่งทฤษฎีมาหลายปี ผมเคยบอกกับตัวเองหลายครั้งมาก ผมถ่ายภาพตามทฤษฎีและต้องการให้คนอื่นยอมรับ ยังไงๆ ภาพผมก็ไม่โดนตำหนิ ว่าไร้ทิศทางหรือไม่มีหลักเกณฑ์ในการถ่ายภาพอย่างแน่นอน.. ผลลัพธ์ที่ผมได้รับคือภาพที่ผมถ่ายมีรูปแบบตายตัว สวยงาม ถูกหลักเกณฑ์แต่ไร้ซึ่งเสน่ห์และไม่มีชีวิต (อธิบายได้อย่างง่ายๆ นะครับ เช่น..สวยแต่รูป..จูบไม่หอม หรือไม่ก็ บ้านภายนอกสวยงาม..แต่อยู่แล้วอาจจะอึดอัด..) ไม่รู้ว่าผมรู้สึกหรือคิดไปเองหรือเปล่านะครับ.. คนที่อาจจะเห็นแตกต่างก็ขอให้เป็นเรื่องที่คุยกันสนุกๆ ในสภาพเศรษฐกิจและบ้านเมืองเป็นแบบนี้ก็แล้วกัน 😀

 

Ilford HP5 400-4

 

ผมถ่ายภาพแบบนั้นมานาน ด้วยเพราะงานโฆษณาบังคับถ่ายตาม Layout ขืนถ่ายนอกกรอบ ผมคงมีปัญหา ลูกค้าบางรายอยากให้เหมือนตัวอย่าง layout ที่สำเนามาเป๊ะๆ นางแบบนั่งบิดนั่งแอ๊คกันจนแม้มืออาชีพก็ยังเกร็งไปหมด เพราะนาย Approved มาแล้วตามนั้น..ผมจึงเป็นแค่ Tailor Made ไม่ได้เป็น Designer กับเขาสักที เป็นงานที่ทำเงินตามรูปแบบของศิลปะ Made to order รูปบางรูปที่ถ่ายได้สวยกว่าใน Layout ก็ไม่ยอมใช้กัน ลูกค้าบางรายน่ารักพอผ่อนสั้นผ่อนยาวได้บ้างครับ.. บางรายก็อย่างที่บอกเป็นเส้นตรงมาก… คงทำงานกับเจ้านายด้วยความกลัว..กลัวไม่เหมือนที่สั่ง…ส่วนเรามีหน้าที่ทำงานก็ทำกันไป เสนอความคิดเห็นแล้วเห็นไม่โอเค ก็ทำตามนั้น.. ศิลปะสมัยนี้คงเป็นปัจเจกนิยม (แปลว่า…ฉันชอบของฉันแบบนี้)  หากมองในแบบศิลปะ ที่ไม่ได้นำอัตตาของเราไปแทรกกับมุมมมองของคนอื่น และพยายามคิดให้กลางๆ เราก็จะยอมรับได้กับความเป็นตัวตนและสิ่งที่ชอบของเขาได้

 

Ilford XP2-7

 

อีกเรื่องของศิลปะหรือรสนิยมในการแต่งกายของสาวๆ สมัยนี้ การที่เธอจะนุ่งสั้นๆ ใส่เสื้อน้อยชิ้นเดินในที่สาธารณะ ซึ่งผิดแผกไปจากจารีตที่พ่อแม่เราสอนพวกลูกๆ ให้รักนวลสงวนตัวในอดีต การแต่งเนื้อแต่งตัวแบบนั้น แม้จะแยกไม่ออกว่าเธอๆ ต่างจากสาวๆ พัฒน์พงศ์ตรงไหน มันก็เป็นเรื่องของเธออยู่ดี แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการแต่งกายอย่างนั้นก็ตาม (หล่อนอาจไม่มีอะไรจะเสียแล้วก็เป็นได้ 😀 การแสดงเนื้อหนังมังสาในส่วนที่ควรสงวนจึงไม่ใช่เรื่องน่าปกปิดอีกต่อไป) เราก็คงต้องเข้าใจพวกเธอแบบนี้กระมัง…เข้าใจว่า…เพศภาวะ..เป็นเรื่องส่วนตัว….แม้กาละเทศะในการแสดงในที่สาธารณะอาจไม่เหมาะสมก็ตาม หรืออย่างไร? 😀 …เพื่อความสบายใจของเราเอง…อาจจะต้องย้อนกลับไปอ่านข้อความข้างต้นอีกรอบ…

มันไม่เกี่ยวกับ Hasselblad มันไม่เกี่ยวกับเรื่องของพวกเรา.. 😀

 

Ilford XP2-4

ผมชอบมองภาพถ่ายคน โดยเฉพาะคนถ่ายภาพที่ทำงานกับคนเป็นหลัก ผมว่าคนเหล่านี้มีทักษะดีในการทำความรู้จักกับคนและเข้ากับคนง่าย.. ภาพเหล่านั้นจึงมีชีวิตชีวาเพราะคนเป็นแบบไม่เกร็ง ดูเป็นธรรมชาติ หนึ่งในน้องๆ ที่ผมรู้จักดีคือคุณต้น ดุสิต https://www.facebook.com/ajake9

คนที่เริ่มหลงรัก Hasselblad อีกคนและถ่ายภาพคนธรรมดาๆ ที่พวกเราเห็นกันจนชิน แต่คุณต้นถ่ายภาพตามแบบของเขาได้ดีมาก และบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าผม ที่เอาแต่ขลุกถ่ายภาพพวก Commercial จนลืมศิลปะไปแล้วเสียอีก…คุณต้นกับกล้องและเลนส์หนึ่งตัว [Hasselblad 503cx+Distagon 60mm F3.5 CF F T*] ที่เริ่มติดกันจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไปแล้ว แน่นอนว่า..เราจะมีภาพดีๆ ที่พวกเราชมได้จากเฟสบุ๊คคุณต้นเองและบ้านหลังนี้ไปพร้อมๆ กันครับ

 

Ilford HP5 400

 

Distagon 60mm F3.5 CF T* ตัวนี้ให้สีสันและความคมชัดดีมาก ถ่ายภาพได้สะดวกและมีน้ำหนักใกล้เคียงกับ 80mm CF F2.8 T* แต่ได้มุมมองในแนว Street photography ดีกว่าและ ถ่ายคนได้ดีเช่นกันกับตัว 80mm CF

 

Ilford XP2-8

 

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ และภาพที่มีความหมาย …A picture word a thousand words… โดยไม่ต้องมานั่งอธิบายให้เหนื่อย จากคุณต้น ดุสิต เสมาเงิน และจะมีภาพดีๆ จากเพื่อนๆ มาแบ่งกันชมและศึกษาแนวภาพ ฟิล์มที่ใช้ Developing Lab ที่แนะนำ หรือคุณสมบัติของเลนส์แต่ละตัว ที่ใช้ภาพอธิบายแทนคำพูด

ขอให้มีความสุขในการถ่ายภาพครับ 😀

Yut Hasselblad

Sept 4, 2016